การให้ความสำคัญด้านคุณค่าและประโยชน์ของการเล่นกีฬาเบสบอล

การสื่อสารเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการแข่งกีฬาเบสบอล

กีฬาเบสบอล ถือได้ว่าเป็นกีฬาประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น

กีฬาเบสบอลและซูโม่ เป็นกีฬายอดนิยมของชาวญี่ปุ่น

โดยในต้นทศวรรษ 1990 ฟุตบอลอาชีพก็ถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นโดยเรียกการแข่งขันฟุตบอลดังกล่าวว่า “เจลีก” สองปีหลังจากนั้นชาวญี่ปุ่นดูจะพากันคลั่งไคล้เจลีก รวมทั้งดารนักเตะไม่ว่าจะเป็นนักเตะญี่ปุ่นหรือนักเตะต่างชาติ แต่หลังจากนั้นอีกสองปีคนดูฟุตบอลเจลีกก็ลดจำนวนลง กีฬาที่เปิดให้คนจำนวนมากเข้าชมไม่ค่อยปรากฏนักในกรุงโตเกียว กีฬาบางประเภทอย่างกอล์ฟก็แพงเกินไป ซึ่งกอล์ฟเป็นกีฬาที่คนญี่ปุ่นคลั่งไคล้มากที่สุด แต่คนมีฐานะดีเท่านั้นจึงจะเล่นได้ ส่วนสกีก็เป็นกีฬาอีกประเภทที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น

กีฬาเบสบอล เป็นคู่แข่งกับซูโม่ในฐานะกีฬาประจำชาติ เป็นอุตสาหกรรมที่ทำเงินได้มากเพราะสามารถดึงคนดูเข้าสนามได้ถึง 15 ล้านคน ส่วนอีกล้านคนที่เหลือจะชมการแข่งขันจากโทรทัศน์ ขณะที่คนโดยสารรถไฟก็จะอ่านแต่หนังสือพิมพ์กีฬาระหว่างทางไปทำงานทุกเช้า โดยเฉพาะช่วงเมษายนถึงตุลาคม เพื่อติดตามรายละเอียดผลการแข่งของคืนวาน ญี่ปุ่นอาจจะจัดได้ว่าเป็นชาติที่บ้ากีฬาเบสบอลมากว่าสหรัฐอเมริกาเสียอีก ซึ่งความต่างระหว่างเบสบอลอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น คือนักเบสบอลญี่ปุ่นถือว่ากีฬาเบสบอลเป็นอาชีพหนึ่งที่พวกเขาต้องฝึกฝนอย่างหนักในช่วงนอกฤดูแข่งขันเช่นเดียวกับที่ต้องฝึกหนักช่วงฤดูการแข่งขันในเดือนเมษายนถึงตุลาคม

การเล่นกีฬาเบสบอล

เป็นกีฬาที่โด่งดังมากในต่างประเทศไม่แตกต่างจากฟุตบอลเลย ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยได้รับความนิยมในประเทศไทยนัก แต่กีฬาเบสบอลก็ถือเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจมากๆโดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นถือได้ว่าเบสบอลเป็นกีฬาที่อยู่คู่ประเทศเขามาช้านาน กีฬาเบสบอลหรือที่ญี่ปุ่นเขาเรียกกันว่า ยะคิว เป็นกีฬาประเภทแข่งขันกันเป็นทีม มีการเล่นที่แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายรุกกับฝ่ายรับ ระหว่างทำการแข่งขัน 1 ทีมจะมีผู้เล่นทีมละ  9 คน การที่ญี่ปุ่นอนุญาตให้คนต่างชาติมาเล่นในทีมเบสบอลญี่ปุ่นได้ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะทีมเบสบอลทุกทีมจะทำการเลือกผู้เล่นต่างชาติสามคนมาจากจำนวนผูเล่น 60 คนที่อยู่ในเมเจอร์ลีกและทีมสมัครเล่น

Tags:

This entry was posted on Thursday, December 18th, 2014 at 3:19pm and is filed under เบสบอล. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.